ตอนที่ 3 การใส่คอร์ด และ Chord Diagrams
คอร์ดจะเขียนใส่ได้เมื่อเราเลือกเขียนในไลน์ที่ 1 (สังเกตดูที่ช่องสี่เหลี่ยมจะเป็นสีเหลือง) หลังจากนั้นก็คลิกที่ตำแหน่งที่เราต้องการจะใส่คอร์ด แล้วกดเครื่องมือ ทางด้านซ้าย (หรือกดคีย์ลัด "A") จะมีหน้าต่างนี้ปรากฏขึ้นมา
เดี๋ยวเรามาดูกันทีละส่วนนะครับ
ที่ปุ่ม "b" และ "#" คือเลือกว่าจะให้ชื่อคอร์ดเป็นทาง b หรือ #
Inversion คือการพลิกกลับของคอร์ดที่ตำแหน่งต่างๆ หากกำหนดไว้ที่ "Root" คือ อยู่ในตำแหน่ง Root Position หรือหากกำหนดเป็น "#1"จะอยู่ในตำแหน่งแบบพลิกกลับครั้งที่หนึ่ง (first inversion)
ในช่องต่อมาจะแสดงโน้ตที่อยู่ในคอร์ด และลำดับโน้ตของคอร์ดนั้นๆ
ช่องล่างสุดจะเป็นชื่อคอร์ดที่เราจะให้ปรากฏอยู่บน Score เพลง
ช่องนี้แสดงชื่อคอร์ดอื่นๆที่เป็นไปได้หากจับตาม Chord Diagram แต่มักจะแสดงชื่อแปลกๆที่ไม่มีใครใช้กัน อย่างเช่นบรรทัดที่ 3 เขียนว่า Emaddb13(no5)/C อ่านชื่อแล้วมึนมาก
จะมีโน้ต 1 b3 b13 --> E G C แถมเบสเป็นเสียง C ก็คือคอร์ด C ธรรมดาๆนั่นเอง ฮ่าๆๆ
Chord Diagram แสดงวิธีการจับคอร์ด เราสามารถเขียนวิธีการจับคอร์ดได้เองจากส่วนนี้ แล้วกำหนดชื่อคอร์ดทีหลังได้
วิธีการจับคอร์ดในแบบต่างๆ ปรับเลือกให้แสดงระดับความยากง่ายได้
Clear สำหรับล้างคอร์ดเพื่อกำหนดค่าใหม่
Use diagram เลือกว่าจะใช้ Chord Diagram หรือไม่ ปกติผมจะปรับให้แสดงไว้ทุกครั้ง เพราะเราสามารถไปกำหนดค่าการแสดง Diagram ที่ Stylesheet ได้ (ส่วนนี้จะมีประโยชน์เมื่อคอร์ดอื่นๆแสดง Diagram และต้องการให้คอร์ดนี้เพียงคอร์ดเดียวที่ไม่แสดง)
Show Fingering เลือกว่าจะให้แสดงนิ้วที่ใช้ในการจับคอร์ดนั้นหรือไม่
เมื่อกด OK ชื่อคอร์ดจะปรากฏอยู่เหนือห้องนั้นๆ
หากต้องการให้แสดง Chord Diagram บน Score เพลงของเราให้เข้าไปตั้งค่าที่
File > Stylesheet...
ให้ดูในส่วนของ Page & Score Format จะมีที่ให้ปรับตั้งค่า Chord diagrams
เลือกได้ว่าจะให้ diagram นั้นแสดงตอนเริ่มต้น score หรือ ใน score บนห้องนั้นๆ และปรับขนาดของ diagram ได้ครับ ในที่นี้ผมเลือกให้แสดงทั้งสองส่วนและปรับขนาดไว้ให้ต่างกัน เพื่อดูผลการปรับตั้งค่าที่ชัดเจนนะครับ
จะได้ผลดังรูปนี้ครับ
No comments:
Post a Comment